วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ภาพพจน์คำประพันธ์

Posted on 05:17 by UsoTeam

clip_image002






ภาพพจน์ของภาษาในคำประพันธ์
ภาพพจน์ Figure of speech คือถ้อยคำที่ทำให้เกิดภาพในใจเป็นเรื่องของภาษาและศิลปะการใช้เสียงของคำเปรียบเทียบคำ การใช้คำเป็นรูปธรรมเรียกสิ่งที่เป็นนามธรรมเป็นต้น
ภาพพจน์แบ่งออกเป็น ๘ ลักษณะดังนี้
๑.อุปมา(simily) คือการเปรียบเทียบสิ่งที่เหมือนกัน อุปมาเป็นสิ่งที่นำมากล่าวเปรียบเทียบ เช่น เหมือน,ดั่ง,ดุจ,ประดุจ,ราวกับ เป็นต้น
๒.อุปลักษณ์(Metaphor) เป็นการกล่าวเปรียบเทียบวิธีหนึ่งต่างกับอุปมาตรงที่ อุปลักษณ์จะใช้วิธีกล่าวเป็นนัยให้เข้าใจเอาเอง บางครั้งไม่มีคำเชื่อมให้เห็นชัดเหมือน อุปมา
เช่น
-ตกเหวรักจะดิ้นรนไปจนตาย
-เขามีอาชีพเป็นเหยี่ยวข่าวในสมัยนี้
๓.บุคลาธิษฐาน(Personification) หรือบุคลวัต มาจากบุคคลาธิษฐาน คืออธิษฐานให้กลายเป็นบุคคล หมายถึงภาพพจน์ที่กล่าวถึงสิ่งที่ไม่มีชีวิตให้มีชีวิต มีความรู้สึกนึกคิด
เช่น
-ฟ้าร้องให้
-ใบไม้เริงระบำ
-ต้นอ้อล้อเล่นลม
-ปางลูกทุกข์ฤดี ธรณีเศร้าใจ
๔.อติพจน์(Hyperbole) คือการกล่าวเกินจริงภาพพจน์ชนิดนี้นิยมใช้มากแม้ในภาษาพูดเพราะเปรียบเทียบให้เห็นภาพได้ง่ายและสามารถแสดงอารมณ์ความรู้สึกได้ชัดเจน
เช่น
-ร้องให้จนน้ำตาเป็นสายเลือด
-การบินไทยรักคุณเท่าฟ้า
-เราบินข้ามโลกมาชั่วลัดนิ้วมือเดียว
๕. วัญลักษณ์(Symbol) การเปรียบเทียบที่เรียกสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยคำอื่นเรียกแทนคำที่ใช้เรียกสิ่งนั้นเกิดจากการเปรียบเทียบและตีความซึ่งเป็นที่เข้าใจกัน
เช่น กุหลาบ = ความรัก
๖.ปฎิทัศน์(Paradox) คือการใช้ถ้อยคำที่มีความหมายตรงข้ามกัน ภาพพจน์นี้ต้องตีความหมายจึงจะเข้าใจ
เช่น
-ยิ่งรีบยิ่งช้า
-ความมืดที่เวิ้งว้างสว่างไสว
-เสียงกระซิบแห่งความเงียบ
๗.สัญลักษณ์ (Onomatopoeia) หมายถึงภาพพจน์ที่เลียนเสียงหรืออาการต่างๆเช่นเสียงดนตรี เสียงอาการของสัตว์ ทำให้รู้สึกเหมือนได้ยินเสียงอย่างนี้จริงๆ
เช่น
-ต้อยตะริดติดตี่เจ้าพี่เอย(เสียงปี่)
-อ่อยอ่อยเอื้อยเอื้อยอ้อเสียงแว่วมา(ซออู้)
๘.นามนัย(Metonymy) การใช้คำหรือวลีสำนวนของสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาเสนอแสดงความหมายสิ่งนั้นทั้งหมด เช่น
เวที = การแสดงละคร
มงกุฎ = กษัตริย์
ลูกโดม = นักษึกษาธรรมศาสตร์
ภาพจาก :http://www.hoax-slayer.com

No Response to "ภาพพจน์คำประพันธ์"

Leave A Reply