วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ศัทพ์ ทางวิชาสังคมที่น่ารู้

Posted on 02:04 by UsoTeam




ความหามาได้ยาก = Scarcity
บางท่านเรียกว่า "ความมีอยู่อย่างจำกัด" และ/หรือ "ความขาดแคลน" แต่เพื่อหลีกเลี่ยงความเข้าใจที่กาจจะไขว้เขวกับศัพท์ภาอังกฤษ คำว่า "limited" กับคำว่า "shortage" การใช้คำว่า "ความหามาได้ยาก" หรือ "ความหายาก" ดู เหมือนว่าจะเหมาะสมกว่า ซึ่งความหามาได้ยาก หมายถึง สภาพที่สิ่งใดๆ หรือทรัพยากรการผลิตประเภทต่างๆ มีปริมาณไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่ในขณะนั้น จากความหมายดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ความหามาได้ยากไม่ได้แปลว่ามีอยู่จำกัด ปริมาณทรัพยากรชนิดหนึ่งๆ อาจเพิ่มขึ้นได้ เช่น ประชากรปลา ป่าไม้ น้ำมัน เป็นต้น แต่อาจเพิ่มขึ้นได้ช้าหรือใช้เวลานาน ในกรณีที่ความต้องการของคนเพิ่มขึ้นมากกว่านั้น จะทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าหรือบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ให้ ครบถ้วนได้ ดังนั้น ความหามาได้ยากจึงเป็นต้นเหตุสำคัญของปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ทุกปัจเจก ชน ทุกครัวเรือน ทุกชุมชน และทุกสังคม หรือประเทศจะต้องเผชิญอยู่ตลอดเวลา และด้วยความหามาได้ยากของทรัพยากรนี่เอง ที่ก่อให้เกิดแนวคิดในการจัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพ อันเป็นที่มาของวิชาเศรษฐศาสตร์

ต้นทุนค่าเสียโอกาส = Opportunity cost
มูลค่าสูงสุดของกิจกรรมทางเลือกอื่นที่เสียไปอันเนื่องมาจากการตัดสินใจ เลือกเอากิจกรรมหนึ่งๆ ในบรรดากิจกรรมทางเลือกทั้งหมด ต้นทุนค่าเสียโอกาสเกิดขึ้นเนื่องจากทรัพยากรต่างๆ มีอยู่อย่างจำกัด ถ้านำมาใช้เพื่อกิจกรรมหนึ่งมากขึ้นย่อมทำให้โอกาสที่จะนำไปใช้ในกิจกรรม อื่นมีน้อยลง ต้นทุนค่าเสียโอกาสนี้อาจพิจารณาได้ทั้งในแง่ของการบริโภค และการผลิต ส่วนในแง่ของการผลิตก็จะมีแนวคิดที่เหมือนกัน กล่าวคือ ต้นทุนค่าเสียโอกาสของการผลิตสินค้าหรือบริการชนิดหนึ่งๆ ก็คือ มูลค่าสูงสุดของสินค้าหรือบริการชนิดอื่นๆที่จะสามารถผลิตได้ด้วยทรัพยากร หรือปัจจัยการผลิตจำนวนเดียวกันนั้น ซึ่งจะเท่ากับผลรวมของต้นทุนค่าเสียโอกาสของปัจจัยการผลิตแต่ละชนิดนั่นเอง หากปัจจัยการผลิตชนิดใดไม่อาจนำไปใช้ในทางเลือกอื่นได้เลย ต้นทุนค่าเสียโอกาสของปัจจัยชนิดนั้นย่อมมีค่าเท่ากับศูนย์


ผลิตภาพ = Productivity
นิยามที่เป็นที่ยอมรับกันของคำว่า productivity หรือผลิตภาพ คือ อัตราส่วนของปริมาณผลิตผลที่ได้ (output) ต่อปริมาณสิ่งที่ใส่เข้าไป (Input) ในการดำเนินการผลิตนั้นๆ เช่น วัตถุดิบ, แรงงาน, เครื่องจักร เป็น ต้น กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือขีดความสามารถในการผลิตของปัจจัยการผลิตหน่วยหนึ่งว่า จะก่อให้เกิดผลผลิตได้เท่าใด หรือเขียนเป็นสมการเชิงนิยามได้ดังนี้ :
ผลิตภาพ (Productivity) = output / input
ตัวอย่างเช่น ผลิตภาพของปัจจัยแรงงาน (labour productivity) จะ เท่ากับสัดส่วนระหว่างจำนวนผลผลิตกับจำนวนแรงงานที่ใช้ อย่างไรก็ตาม นักวิชาการบางท่านกล่าวว่า ผลิตภาพตามนิยามข้างต้นไม่เพียงแต่ประกอบด้วยขีดความสามารถในแง่การผลิตเท่า นั้น แต่ยังรวมถึงในแง่ของบุคคลที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิต ดังนั้น ผลิตภาพอาจมองในรูปของจิตทัศนคติซึ่งเป็นจุดรวมของความชำนาญของบุคลากร, ความสนใจ, เทคโนโลยี, การจัดการ, สังคม, และสิ่งแวดล้อม อาจกล่าวได้ว่า ผลิตภาพในการผลิตไม่ได้เกี่ยวข้องเฉพาะกับปัจจัยด้านแรงงานหรือปัจจัยทุน (capital productivity) เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ตารวมถึงทุกปัจจัยที่มีส่วนในการสร้างผลิตผลนั้นๆ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ?ผลิตภาพของปัจจัยโดยรวม? (Total Factor Productivity หรือ TFP) การวัดระดับของผลิตภาพโดยรวมอาจพิจารณาจากสมการต่อไปนี้
ผลิตภาพของโดยรวม (TFP) = output / total factor input

ความหมายของระบบเศรษฐกิจ economic system
ระบบเศรษฐกิจ หมายถึงกลุ่มบุคคลของสังคมที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มของสถาบันทางเศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งยึดถือแนวปฏิบัติแนวทางเดียวกันในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน คือ อำนวยความสะดวกในการที่จะแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เพื่อให้สามารถบำบัดความต้องการให้แก่บุคคลต่างๆที่อยู่ร่วมกันในสังคมนั้น ให้ได้รับประโยชน์มากที่สุด เกิดประสิทธิภาพสูงสุด





ถาบันเศรษฐกิจ (Economic Institutions)

สถาบันทางเศรษฐกิจ มีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์อย่างยิ่ง เพราะความต้องการทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ และความต้องการของมนุษย์บางครั้งก็ไม่มีของเขต ซึ่งจากการศึกษาประวัติศาสตร์จะเห็นได้ว่า มนุษย์ได้มีการต่อสู้ทางเศรษฐกิจมานาน เดิมทีเป็นการต่อสู่ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ ต่อมาเป็นการต่อสู้ระหว่างชนชั้น หลังจากนั้นเป็นการต่อสู้ระหว่างท้องถิ่นและระหว่างชาติ เป็นการต่อสู้ที่เกิดขึ้นโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องไม่มากก็น้อยในทุกยุคและทุก สมัย

สถาบันทางเศรษฐกิจ เป็นสถาบันที่กล่าวถึงวิธีการอยู่รอดของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่ด้านการผลิต การแลกเปลี่ยน และการบริโภค สถาบันนี้จึงเป็นเครื่องมือที่ดี ในการลดปริมาณการต่อสู้ทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในภาวะที่ทรัพยากรและการผลิตของมนุษย์อยู่ในวงจำกัด ประกอบกับมนุษย์มีความต้องการทางด้านวัตถุมากขึ้น มนุษย์จึงต้องหาวิธีการบางอย่างเพื่อให้ความต้องการของตนได้บรรลุผล โดยมนุษย์ได้ใช้วิธีการทางเศรษฐกิจเพื่อสนองความต้องการของตนตั้งแต่ระยะแรก ๆ จนถึงปัจจุบัน เช่น การหาอาหารด้วยการล่าสัตว์ เลี้ยงสัตว์ ตกปลา ทำนา แลกเปลี่ยนค้าขาย และการ อุตสาหกรรม เป็นต้น สถาบันทางเศรษฐกิจ จึงไม่ใช่หน่วยงานอิสระ แต่เป็นหน่วยหนึ่งของวัฒนธรรม เพราะเป็นสถาบันที่มีทั้งอิทธิพล และรับอิทธิพลจากหน่วยอื่น ๆ เป็นสถาบันที่มนุษย์จะขาดเสียมิได้


แรงจูงใจ (incentive)
คือ สิ่งที่ชักนำหรือจูงใจให้เราทำอะไรบางอย่าง เช่น เราทำงานเพราะมีเงินเดือนเป็นแรงจูงใจ เราทำงานหนักขึ้นเพราะมีโบนัสเป็นแรงจูงใจ อย่างนี้เป็นต้น

การแลกเปลี่ยน หมายถึง การนำสินค้าบริการมาแลกเปลี่ยนกันโดยวิธีการต่างๆปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยน คือ การแบ่งงานกันทำและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (Specialization)


เงินตรา
คือ วัตถุที่ใช้ในการแลกขายซื้อเปลี่ยน เป็นตัวแทนการวัดมูลค่าของสินค้าที่แลกเปลี่ยนกัน ในอดีตเริ่มจากการใช้เปลือกหอย พัฒนามาเป็นโลหะ ปัจจุบัน ใช้เป็น เหรียญ และ ธนบัตร

Interdependence
การพึ่งพาอาศัยกัน การอาศัยซึ่งกันและกันของระบบเศรษฐกิต

ตลาด
การแลกเปลี่ยนซื้อขาย โดยไม่มีความหมายของสถานที่ทางกายภาพ

อุปสงค์
คือ ปริมาณความต้องการสินค้า ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง โดยความต้องการดังกล่าวนี้ต้องเป็นความต้องการที่สามารถจ่ายได้ (willingness to pay) หรือต้องเป็นอุปสงค์ที่มีศักยภาพ (effective demand) โดยทั่วไปมักใช้เพื่อแสดงความสัมพันธ์กับระดับราคา โดยอุปสงค์จะมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับระดับราคา กล่าวคือ เมื่อระดับราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ความต้องการสินค้าชนิดนั้นจะลดลง อย่างไรก็ตามคำว่าอุปสงค์ชนิดนี้อาจใช้ได้กับทั้งบุคคล และระดับประเทศได้ เช่น อุปสงค์มวลรวม (aggregated demand) ซึ่งหมายถึงความต้องการสินค้าและบริการทั้งประเทศ (เศรษฐศาสตร์มหภาค)

อุปทาน
คือ ปริมาณเสนอขายสินค้า ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง(และต้องมีความสามารถในการผลิตปริมาณสินค้าในระดับการผลิต ที่ยินดีเสนอขายด้วย) อุปทานในที่นี้อาจใช้หมายถึง หน่วยผลิต ผู้ผลิต ก็ได้ โดยปริมาณอุปทานจะมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับระดับราคา กล่าวคือ เมื่อระดับราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ผู้ขายจะยินดีเสนอขายสินค้าในปริมาณที่เพิ่มขึ้น






แหล่งอ้างอิง
http://library.cmu.ac.th
http://www.geocities.com/motaldragon02/rabob.html
http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=436
www.gotoknow.org/blog/hrd/236904
http://www.geocities.com/econ_m5/lesson2.html
http://th.wikipedia.org/

ภาพจาก
http://blog.spu.ac.th/home/blog_data/669/669/images/economic.gif

No Response to "ศัทพ์ ทางวิชาสังคมที่น่ารู้"

Leave A Reply