วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2552

คำนาม Noun


image



คำนาม  คือคำที่ใช้เรียก แทนชื่อ คน ,สัตว์,สิ่งของ,และสถานที่


คำนามแบ่งเป็น 2 ชนิดหลักๆ
  1. นามนับได้ (Countable Noun )  คือนามที่สามารถนับได้  เช่น ant ,cat ,dog เป็นต้น  โดย สัตว์เราจะเรียกเป็นตัว สิ่งของจะเรียกเป็นอัน หรือ ชิ้นเป็นต้น

  2. นามนับไม่ได้ (Uncountable Noun )  คือ นามที่ไม่สามารถนับเป็นเลขได้  เช่น water ,milk ซึ่งเราไม่สามารถนับมันได้ ยกเว้นว่า จะมีภาชนะมารองรับ



หน้าที่ของคำนาม
1.        เป็นประธานของประโยค
2.        ขยายประธานของประโยค
3.        เป็นกรรมตรงของกริยา
4.        เป็นกรรมรองของกริยา
5.        เป็นตัวขยายกรรม
6.        เป็นกรรมตามหลังบุพบท
7.        เป็นตัวขยายประธาน
8.        เป็นนามขยายนาม
9.        เป็นคำเรียกขาน


*คำนามมักจะลงท้ายด้วย  -ity  --ment  -ness  -ation  -hood  -ship 
*Noun มักจะตามหลัง Article  a an the เพื่อบอกให้ทราบจำนวน
เช่น
-A cat แมวตัวหนึ่ง
-A toy ของเล่นชิ้นหนึ่ง
-The room  ห้องหนึ่ง(เจาะจงว่าห้องไหน)
*Noun มักตามหลัง Demonstrative Adjective This(นี้) That(นั่น)  These(เหล่านี้) Those(เหล่านั้น) เพื่อบอกให้ทราบจำนวนและระยะทางของสิ่งที่พูดถึงเช่น
-This  pen ปากกา 1 ด้ามนี้
-These pens  ปากกาหลายด้ามเหล่านี้
-That  pen   ปากกา 1 ดามเล่มนั้น
-Those book  ปากกาหลายด้ามเหลานั้น


*Non มักตามหลงคำคุณศัพท์แสดงความเป็นเจ้าของ
                -My   book              หนังสือของฉัน
                -Your   books          หนังสือหลายเล่มของคุณ


*Noun   มักตามหลังคำบอกลักษณะ (adjective)
                -The red flower      ดอกไม้สีแดงดอกนั้น
                -my  green pen       ดินสอสีแดงของฉัน

วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ภาพพจน์คำประพันธ์

clip_image002






ภาพพจน์ของภาษาในคำประพันธ์
ภาพพจน์ Figure of speech คือถ้อยคำที่ทำให้เกิดภาพในใจเป็นเรื่องของภาษาและศิลปะการใช้เสียงของคำเปรียบเทียบคำ การใช้คำเป็นรูปธรรมเรียกสิ่งที่เป็นนามธรรมเป็นต้น
ภาพพจน์แบ่งออกเป็น ๘ ลักษณะดังนี้
๑.อุปมา(simily) คือการเปรียบเทียบสิ่งที่เหมือนกัน อุปมาเป็นสิ่งที่นำมากล่าวเปรียบเทียบ เช่น เหมือน,ดั่ง,ดุจ,ประดุจ,ราวกับ เป็นต้น
๒.อุปลักษณ์(Metaphor) เป็นการกล่าวเปรียบเทียบวิธีหนึ่งต่างกับอุปมาตรงที่ อุปลักษณ์จะใช้วิธีกล่าวเป็นนัยให้เข้าใจเอาเอง บางครั้งไม่มีคำเชื่อมให้เห็นชัดเหมือน อุปมา
เช่น
-ตกเหวรักจะดิ้นรนไปจนตาย
-เขามีอาชีพเป็นเหยี่ยวข่าวในสมัยนี้
๓.บุคลาธิษฐาน(Personification) หรือบุคลวัต มาจากบุคคลาธิษฐาน คืออธิษฐานให้กลายเป็นบุคคล หมายถึงภาพพจน์ที่กล่าวถึงสิ่งที่ไม่มีชีวิตให้มีชีวิต มีความรู้สึกนึกคิด
เช่น
-ฟ้าร้องให้
-ใบไม้เริงระบำ
-ต้นอ้อล้อเล่นลม
-ปางลูกทุกข์ฤดี ธรณีเศร้าใจ
๔.อติพจน์(Hyperbole) คือการกล่าวเกินจริงภาพพจน์ชนิดนี้นิยมใช้มากแม้ในภาษาพูดเพราะเปรียบเทียบให้เห็นภาพได้ง่ายและสามารถแสดงอารมณ์ความรู้สึกได้ชัดเจน
เช่น
-ร้องให้จนน้ำตาเป็นสายเลือด
-การบินไทยรักคุณเท่าฟ้า
-เราบินข้ามโลกมาชั่วลัดนิ้วมือเดียว
๕. วัญลักษณ์(Symbol) การเปรียบเทียบที่เรียกสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยคำอื่นเรียกแทนคำที่ใช้เรียกสิ่งนั้นเกิดจากการเปรียบเทียบและตีความซึ่งเป็นที่เข้าใจกัน
เช่น กุหลาบ = ความรัก
๖.ปฎิทัศน์(Paradox) คือการใช้ถ้อยคำที่มีความหมายตรงข้ามกัน ภาพพจน์นี้ต้องตีความหมายจึงจะเข้าใจ
เช่น
-ยิ่งรีบยิ่งช้า
-ความมืดที่เวิ้งว้างสว่างไสว
-เสียงกระซิบแห่งความเงียบ
๗.สัญลักษณ์ (Onomatopoeia) หมายถึงภาพพจน์ที่เลียนเสียงหรืออาการต่างๆเช่นเสียงดนตรี เสียงอาการของสัตว์ ทำให้รู้สึกเหมือนได้ยินเสียงอย่างนี้จริงๆ
เช่น
-ต้อยตะริดติดตี่เจ้าพี่เอย(เสียงปี่)
-อ่อยอ่อยเอื้อยเอื้อยอ้อเสียงแว่วมา(ซออู้)
๘.นามนัย(Metonymy) การใช้คำหรือวลีสำนวนของสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาเสนอแสดงความหมายสิ่งนั้นทั้งหมด เช่น
เวที = การแสดงละคร
มงกุฎ = กษัตริย์
ลูกโดม = นักษึกษาธรรมศาสตร์
ภาพจาก :http://www.hoax-slayer.com

ศัทพ์ ทางวิชาสังคมที่น่ารู้




ความหามาได้ยาก = Scarcity
บางท่านเรียกว่า "ความมีอยู่อย่างจำกัด" และ/หรือ "ความขาดแคลน" แต่เพื่อหลีกเลี่ยงความเข้าใจที่กาจจะไขว้เขวกับศัพท์ภาอังกฤษ คำว่า "limited" กับคำว่า "shortage" การใช้คำว่า "ความหามาได้ยาก" หรือ "ความหายาก" ดู เหมือนว่าจะเหมาะสมกว่า ซึ่งความหามาได้ยาก หมายถึง สภาพที่สิ่งใดๆ หรือทรัพยากรการผลิตประเภทต่างๆ มีปริมาณไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่ในขณะนั้น จากความหมายดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ความหามาได้ยากไม่ได้แปลว่ามีอยู่จำกัด ปริมาณทรัพยากรชนิดหนึ่งๆ อาจเพิ่มขึ้นได้ เช่น ประชากรปลา ป่าไม้ น้ำมัน เป็นต้น แต่อาจเพิ่มขึ้นได้ช้าหรือใช้เวลานาน ในกรณีที่ความต้องการของคนเพิ่มขึ้นมากกว่านั้น จะทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าหรือบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ให้ ครบถ้วนได้ ดังนั้น ความหามาได้ยากจึงเป็นต้นเหตุสำคัญของปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ทุกปัจเจก ชน ทุกครัวเรือน ทุกชุมชน และทุกสังคม หรือประเทศจะต้องเผชิญอยู่ตลอดเวลา และด้วยความหามาได้ยากของทรัพยากรนี่เอง ที่ก่อให้เกิดแนวคิดในการจัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพ อันเป็นที่มาของวิชาเศรษฐศาสตร์

ต้นทุนค่าเสียโอกาส = Opportunity cost
มูลค่าสูงสุดของกิจกรรมทางเลือกอื่นที่เสียไปอันเนื่องมาจากการตัดสินใจ เลือกเอากิจกรรมหนึ่งๆ ในบรรดากิจกรรมทางเลือกทั้งหมด ต้นทุนค่าเสียโอกาสเกิดขึ้นเนื่องจากทรัพยากรต่างๆ มีอยู่อย่างจำกัด ถ้านำมาใช้เพื่อกิจกรรมหนึ่งมากขึ้นย่อมทำให้โอกาสที่จะนำไปใช้ในกิจกรรม อื่นมีน้อยลง ต้นทุนค่าเสียโอกาสนี้อาจพิจารณาได้ทั้งในแง่ของการบริโภค และการผลิต ส่วนในแง่ของการผลิตก็จะมีแนวคิดที่เหมือนกัน กล่าวคือ ต้นทุนค่าเสียโอกาสของการผลิตสินค้าหรือบริการชนิดหนึ่งๆ ก็คือ มูลค่าสูงสุดของสินค้าหรือบริการชนิดอื่นๆที่จะสามารถผลิตได้ด้วยทรัพยากร หรือปัจจัยการผลิตจำนวนเดียวกันนั้น ซึ่งจะเท่ากับผลรวมของต้นทุนค่าเสียโอกาสของปัจจัยการผลิตแต่ละชนิดนั่นเอง หากปัจจัยการผลิตชนิดใดไม่อาจนำไปใช้ในทางเลือกอื่นได้เลย ต้นทุนค่าเสียโอกาสของปัจจัยชนิดนั้นย่อมมีค่าเท่ากับศูนย์


ผลิตภาพ = Productivity
นิยามที่เป็นที่ยอมรับกันของคำว่า productivity หรือผลิตภาพ คือ อัตราส่วนของปริมาณผลิตผลที่ได้ (output) ต่อปริมาณสิ่งที่ใส่เข้าไป (Input) ในการดำเนินการผลิตนั้นๆ เช่น วัตถุดิบ, แรงงาน, เครื่องจักร เป็น ต้น กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือขีดความสามารถในการผลิตของปัจจัยการผลิตหน่วยหนึ่งว่า จะก่อให้เกิดผลผลิตได้เท่าใด หรือเขียนเป็นสมการเชิงนิยามได้ดังนี้ :
ผลิตภาพ (Productivity) = output / input
ตัวอย่างเช่น ผลิตภาพของปัจจัยแรงงาน (labour productivity) จะ เท่ากับสัดส่วนระหว่างจำนวนผลผลิตกับจำนวนแรงงานที่ใช้ อย่างไรก็ตาม นักวิชาการบางท่านกล่าวว่า ผลิตภาพตามนิยามข้างต้นไม่เพียงแต่ประกอบด้วยขีดความสามารถในแง่การผลิตเท่า นั้น แต่ยังรวมถึงในแง่ของบุคคลที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิต ดังนั้น ผลิตภาพอาจมองในรูปของจิตทัศนคติซึ่งเป็นจุดรวมของความชำนาญของบุคลากร, ความสนใจ, เทคโนโลยี, การจัดการ, สังคม, และสิ่งแวดล้อม อาจกล่าวได้ว่า ผลิตภาพในการผลิตไม่ได้เกี่ยวข้องเฉพาะกับปัจจัยด้านแรงงานหรือปัจจัยทุน (capital productivity) เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ตารวมถึงทุกปัจจัยที่มีส่วนในการสร้างผลิตผลนั้นๆ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ?ผลิตภาพของปัจจัยโดยรวม? (Total Factor Productivity หรือ TFP) การวัดระดับของผลิตภาพโดยรวมอาจพิจารณาจากสมการต่อไปนี้
ผลิตภาพของโดยรวม (TFP) = output / total factor input

ความหมายของระบบเศรษฐกิจ economic system
ระบบเศรษฐกิจ หมายถึงกลุ่มบุคคลของสังคมที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มของสถาบันทางเศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งยึดถือแนวปฏิบัติแนวทางเดียวกันในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน คือ อำนวยความสะดวกในการที่จะแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เพื่อให้สามารถบำบัดความต้องการให้แก่บุคคลต่างๆที่อยู่ร่วมกันในสังคมนั้น ให้ได้รับประโยชน์มากที่สุด เกิดประสิทธิภาพสูงสุด





ถาบันเศรษฐกิจ (Economic Institutions)

สถาบันทางเศรษฐกิจ มีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์อย่างยิ่ง เพราะความต้องการทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ และความต้องการของมนุษย์บางครั้งก็ไม่มีของเขต ซึ่งจากการศึกษาประวัติศาสตร์จะเห็นได้ว่า มนุษย์ได้มีการต่อสู้ทางเศรษฐกิจมานาน เดิมทีเป็นการต่อสู่ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ ต่อมาเป็นการต่อสู้ระหว่างชนชั้น หลังจากนั้นเป็นการต่อสู้ระหว่างท้องถิ่นและระหว่างชาติ เป็นการต่อสู้ที่เกิดขึ้นโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องไม่มากก็น้อยในทุกยุคและทุก สมัย

สถาบันทางเศรษฐกิจ เป็นสถาบันที่กล่าวถึงวิธีการอยู่รอดของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่ด้านการผลิต การแลกเปลี่ยน และการบริโภค สถาบันนี้จึงเป็นเครื่องมือที่ดี ในการลดปริมาณการต่อสู้ทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในภาวะที่ทรัพยากรและการผลิตของมนุษย์อยู่ในวงจำกัด ประกอบกับมนุษย์มีความต้องการทางด้านวัตถุมากขึ้น มนุษย์จึงต้องหาวิธีการบางอย่างเพื่อให้ความต้องการของตนได้บรรลุผล โดยมนุษย์ได้ใช้วิธีการทางเศรษฐกิจเพื่อสนองความต้องการของตนตั้งแต่ระยะแรก ๆ จนถึงปัจจุบัน เช่น การหาอาหารด้วยการล่าสัตว์ เลี้ยงสัตว์ ตกปลา ทำนา แลกเปลี่ยนค้าขาย และการ อุตสาหกรรม เป็นต้น สถาบันทางเศรษฐกิจ จึงไม่ใช่หน่วยงานอิสระ แต่เป็นหน่วยหนึ่งของวัฒนธรรม เพราะเป็นสถาบันที่มีทั้งอิทธิพล และรับอิทธิพลจากหน่วยอื่น ๆ เป็นสถาบันที่มนุษย์จะขาดเสียมิได้


แรงจูงใจ (incentive)
คือ สิ่งที่ชักนำหรือจูงใจให้เราทำอะไรบางอย่าง เช่น เราทำงานเพราะมีเงินเดือนเป็นแรงจูงใจ เราทำงานหนักขึ้นเพราะมีโบนัสเป็นแรงจูงใจ อย่างนี้เป็นต้น

การแลกเปลี่ยน หมายถึง การนำสินค้าบริการมาแลกเปลี่ยนกันโดยวิธีการต่างๆปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยน คือ การแบ่งงานกันทำและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (Specialization)


เงินตรา
คือ วัตถุที่ใช้ในการแลกขายซื้อเปลี่ยน เป็นตัวแทนการวัดมูลค่าของสินค้าที่แลกเปลี่ยนกัน ในอดีตเริ่มจากการใช้เปลือกหอย พัฒนามาเป็นโลหะ ปัจจุบัน ใช้เป็น เหรียญ และ ธนบัตร

Interdependence
การพึ่งพาอาศัยกัน การอาศัยซึ่งกันและกันของระบบเศรษฐกิต

ตลาด
การแลกเปลี่ยนซื้อขาย โดยไม่มีความหมายของสถานที่ทางกายภาพ

อุปสงค์
คือ ปริมาณความต้องการสินค้า ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง โดยความต้องการดังกล่าวนี้ต้องเป็นความต้องการที่สามารถจ่ายได้ (willingness to pay) หรือต้องเป็นอุปสงค์ที่มีศักยภาพ (effective demand) โดยทั่วไปมักใช้เพื่อแสดงความสัมพันธ์กับระดับราคา โดยอุปสงค์จะมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับระดับราคา กล่าวคือ เมื่อระดับราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ความต้องการสินค้าชนิดนั้นจะลดลง อย่างไรก็ตามคำว่าอุปสงค์ชนิดนี้อาจใช้ได้กับทั้งบุคคล และระดับประเทศได้ เช่น อุปสงค์มวลรวม (aggregated demand) ซึ่งหมายถึงความต้องการสินค้าและบริการทั้งประเทศ (เศรษฐศาสตร์มหภาค)

อุปทาน
คือ ปริมาณเสนอขายสินค้า ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง(และต้องมีความสามารถในการผลิตปริมาณสินค้าในระดับการผลิต ที่ยินดีเสนอขายด้วย) อุปทานในที่นี้อาจใช้หมายถึง หน่วยผลิต ผู้ผลิต ก็ได้ โดยปริมาณอุปทานจะมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับระดับราคา กล่าวคือ เมื่อระดับราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ผู้ขายจะยินดีเสนอขายสินค้าในปริมาณที่เพิ่มขึ้น






แหล่งอ้างอิง
http://library.cmu.ac.th
http://www.geocities.com/motaldragon02/rabob.html
http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=436
www.gotoknow.org/blog/hrd/236904
http://www.geocities.com/econ_m5/lesson2.html
http://th.wikipedia.org/

ภาพจาก
http://blog.spu.ac.th/home/blog_data/669/669/images/economic.gif

วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ลิลิตตะเลงพ่าย




ลิลิตรตะเลงพ่าย
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงนิพนธ์ร่วมกับ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ (พระองค์เจ้ากปิษฐาขัตติยกุมาร)
ลักษณะการแต่ง
แต่งด้วยลิลิตสุภาพ ซึ่งประกอบด้วยร่ายสุภาพ โคลงสองสุภาพ โคลงสามสุภาพ และโคลงสี่สุภาพ แต่งสลับกันไป จำนวน ๔๓๙ บท โดยได้แบบอย่างการแต่งมาจากลิลิตยวนพ่าย ที่แต่งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น ลิลิตเปรียบได้กับงานเขียนมหากาพย์ จัดเป็นวรรณคดีประเภทเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์

จุดมุ่งหมายการแต่ง
เพื่อสดุดีวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในสงครามยุทธหัตถี

เรื่องย่อ
เริ่มต้นชมบุญบารมีและพระบรมเดชานุภาพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แล้วดำเนินความตามประวัติศาสตร์ว่า พระเจ้าหงสาวดีนันทบุรงทรงทราบว่า สมเด็จพระมหาธรรมราชา เสด็จสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรได้ครองราชย์สมบัติ พระองค์จึงตรัสปรึกษาขุนนางทั้งปวงว่ากรุงศรีอยุธยาผลัดเปลี่ยนกษัตริย์ สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จเอกาทศรถพระพี่น้องทั้งสองอาจรบพุ่งชิงความเป็นใหญ่กัน ยังไม่รู้เหตุผลประการใด ควรส่งทัพไปเหยียบดินแดนไทย เป็นการเตือนสงครามไว้ ก่อนถ้าเหตุการณ์เมืองไทยไม่ปกติสุขก็ให้โจมตีทันที ขุนนางทั้งหลายก็เห็นชอบตามพระราชดารีนั้นพระจ้าหงสาวดีจึงตรัสให้ พระมหาอุปราชเตรียมทัพร่วมกับพระมหาราชเจ้านครเชียงใหม่ แต่พระมหาอุปราชกราบทูลพระบิดาว่าโหรทายว่าชันษาของพระองค์ร้ายนัก
สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีตรัสว่าพระมหาธรรมราชาไม่เสียแรงมีโอรสล้วนแต่ เชี่ยวชาญกล้าหาญ ในศึกมิเคยย่อท้อการสงคราม ไม่เคยพักให้พระราชบิดาใช้เลยต้องห้ามเสียอีก และ หวาดกลัวพระราชอาญาของพระบิดายิ่งนัก จึงเตรียมจัดทัพหลวงและทัพหัวเมืองต่างๆ เพื่อยกมาตีไทย ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรเตรียมทัพจะไป ตีกัมพูชา เป็นการแก้แค้นที่ถือโอกาสรุกรานไทยหลายครั้งระหว่างที่ไทยติดศึกกับพม่า พอสมเด็จพระนเรศวรทรงทราบข่าวศึกก็ทรงถอนกำลังไปสู้รบกับพม่าทันที ทัพหน้ายกล่วงหน้าไปตั้งที่ตำบลหนองสาหร่าย


ฝ่ายพระมาหาอุปราชาทรงคุมทัพมากับพระเจ้าเชียงใหม่รี้พลบ 5 แสน เข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ ทรงชมไม้ ชมนก ชมเขา และคร่าครวญถึงพระสนมกำนัลมาตลอดจนผ่านไทรโยคลำกระเพิน และเข้ายึดเมืองกาญจนบุรีได้โดยสะดวก ต่อจากนั้นก็เคลื่อนพลผ่านพนมทวนเกิดลางร้ายลมเวรัมภาพัดฉัตรหัก ทรงตั้งค่ายหลวงที่ตำบลตระพังตรุ ฝ่ายสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถทรงเคลื่อนพยุหยาตราทางชลมารค ไปขึ้นบกที่ปากโมก บังเกิดศุภนิมิต ต่อจากนั้นทรงกรีฑาทัพทางบกไปตั้งค่ายที่ตำบลหนองสาหร่ายเมื่อทรงทราบว่า พม่า ส่งทหารมาลาดตะเวน ทรงแน่พระทัยว่าพม่าจะต้องโจมตีประเทศไทยจึงรับสั่งให้ทัพหน้าเข้าปะทะข้า ศึกแล้ว ล่าถอยเพื่อลวงข้าศึกให้ประมาทแล้วสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับสมเด็จพระเอกาทศ รถ ทรงนำทัพหลวงออกมาช่วย ช้างพระที่นั่งลองเชือกตกมันกลับเขาไปในหมู่ข้าศึกแม่ทัพนายกองตามไม่ทัน สมเด็จพระนเรศวรมหาราชตรัสท้าพระมหาอุปราชากรำยุทธหัตถีจนมีชัยชนะ พระมหาอุปราชาขาดคอช้าง สมเด็จพระเอกาทศรถกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะแก่มังจาชโร
เมื่อกองทัพพม่าแตกพ่ายไปแล้วสมเด็จพระนเรศวรมาหาราชรับสั่งให้สร้างสถูปเจดีย์เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระมหาอุปราชา เสด็จแล้วจึงเลิกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา เป็นอับดับจบเนื้อเรื่อง


ลิลิต หมายถึง หนังสือที่แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภท โคลง และร่าย สลับกันเป็นช่วงๆ ตามธรรมเนียมแล้ว มักจะใช้โคลงและร่ายในแบบเดียวกัน กล่าวคือ โคลงดั้น สลับกับร่ายดั้น, โคลงสุภาพ สลับกับร่ายสุภาพ อย่างนี้เป็นต้น โคลงและร่ายที่สลับกันนั้น มักจะร้อยสัมผัสด้วยกัน เรียกว่า "เข้าลิลิต"
วรรณคดีที่แต่งตามแบบแผนลิลิต มักจะใช้ร่ายและโคลงสลับกันเป็นช่วงๆ ตามจังหวะ ลีลา และท่วงทำนอง และความเหมาะสมของเนื้อหาในช่วงนั้นๆ

ตัวละคร
1.ชื่อบุคคล
สมเด็จพระวันรัต เจ้าคณะใหญ่ในพระสงฆ์อรัญวาสิ
เจ้ารามราฆพ ตำแหน่งกลางช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวร
นายมหานุภาพ ควาญช้างของสมเด็จพระนเรศวร
หมื่นภักดีศวร ตำแหน่งกลางช้างทรงของสมเด็จพระเอกาทศรถ
ขุนศรีคชคง ตำแหน่งท้ายช้างทรงของสมเด็จพระเอกาทศรถ
นางจาปะโร พระพี่เลี้ยงของมหาอุปราช
สมิงซายม่วน นายทวารของหงสาวดี
สมิงอะกร้าน นายทหารสอดแนมของหงสาวดี

2.ชื่อช้างและสิ่งของ
เจ้าพระยาไชยานุภาพ ช้างพระที่นั่งของพระนเรศวรมหาราชเดิมช่อพลายภูเขาทอง เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงทำยุทธหัตถีชนะก็ทรงประทานชื่อว่า “เจ้าพระยาปราบหงสาวดี“
พระยาปราบไตรจักร ช้างพระที่นั่งของพระเอกาทศรถ
พลายพันธกอ ช้างพระที่นั่งของมหาอุปราช
พลายพัชเนียง ช้างของทางจาชโร
แสงพลพ่าย ชื่อพระแสงง้าวของสมเด็จพระนเรศวร

3. ชื่อสถานที่
แม่กษัตริย์ ชื่อแม่น้ำในเขตจังหวัดกาญจนบุรี
พนมทวน ชื่อตำบลในจังหวัดกาญจนบุรี
โคกเผาข้าว ชื่อตำบลในสุพรรณบุรี
หนองสาหร่าย ชื่อตำบลใน จ.สุพรรณบุรี
ตระพังตรุ ชื่อตำบลในจังหวัดอ่างทอง
วิเศษชัยชาญ ชื่ออำเภอในจังหวัดอ่าวทอง
พุทโธธานีมาศ เมืองในเขมร เรียกอีกอย่างว่าปันทายมาศ
ป่าสัก ชื่อเมืองป่าสักอยู่ในเวียดนาม



การตั้งทัพตามตำราภูมิต่างๆ
ครุฑนาม มีจอมปลวกต้นไม้ใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง
พยัคฆนาม ตั้งอยู่แนวป่าริมทาง
สีหนาม มีต้นไม้สามต้นเรียงกัน มีภูเขาใหญ่มีจอมปลวกมหึมา
สุนัขยาม ตั้งทัพใกล้ของโบราณ หรือริมทางใกล้หมู่บ้าน
นาคนาม ตั้งรายทางไปใกล้คลอง ห้วย หรือที่มีแม่น้ำไหล
มุสีหนาม มีดิน โพรง ปลวก มีรู
อัชนาม ตั้งทัพกลางทุ่ง
คชนาม สถานที่มีหญ้าแกมไม้ไผ่

ข้อได้เปรียบของการตั้งทัพแบบต่างๆ
1. หากข้าศึกตั้งภูมิสีหนาม กองทัพก็ต้องตั้งสีหนามเชนเดียวกัน แต่ให้รบก่อนโดยล่อข้าศึกออกมา ให้สูดลมหายใจดู ถ้าจมูกด้านซ้ายคล่อง จะได้ชัยชนะ
2. หากข้าศึกตั้งคชนาม และ พยัคนาม ให้ตั้งสีหนามข่ม
3. หากข้าศึกตั้งอันาม ถือว่าเป็นภูมิที่ให้โทษในตัวอยู่แล้ว
4. หากข้าศึกตั้งสุนัขยาม ให้ตั้งพยัคฆนามข่ม


ภาพจาก
http://www.rungsimun.com