วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Preposition

Preposition
คำบุพบท

คือคำที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง คำนามหรือคำสรรพนาม กับคำอื่นในประโยค

Sue and Sam are are in the room. ซูและแซมอยู่ในห้อง

Sue and Sam – ซูและแซม เป็นคำนาม เป็นประธานของประโยค

are – อยู่ เป็นคำกริยา เป็นกริยาของประโยค

in – ใน เป็นคำบุพบท แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง

“ซูและแซม” กับ “ห้อง”

the room – ห้อง เป็นคำนาม เป็นส่วนที่ทำให้ประโยคสมบูรณ์

The cat is sleeping under the bed. แมวนอนหลับอยู่ใต้เตียง

The cat – แมว เป็นคำนาม เป็นประธานของประโยค

is sleeping – หลับ เป็นคำกริยา เป็นกริยาของประโยค

under – ใต้ เป็นคำบุพบท แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง

“แมว” กับ “เตียง”

the bed – เตียง เป็นคำนาม เป็นส่วนที่ทำให้ประโยคสมบูรณ์

คำบุพบท (preposition) แบ่งออกเป็นชนิดใหญ่ๆได้ ดังนี้
1. Prepositions of Places – คำบุพบทเกี่ยวกับสถานที่ หมายถึง คำบุพบทที่บอกตำแหน่งแหล่งที่ว่าสิ่งนั้นๆ
อยู่ที่ไหน บ้างก็เรียกบุพบทเหล่านี้ว่า preposition of positions


2. Prepositions of Time – คำบุพบทเกี่ยวกับเวลา หมายถึง คำบุพบทที่บอกกาลเวลา

3. Prepositions อื่นๆ


อ้างอิง
http://www.dbs.ac.th/project/preposition1.html

Conjunctions (คำสันธาน)

Conjunctions (คำสันธาน)

คือคำที่ใช้เชื่อมคำ ข้อความ หรือประโยคที่มีความต่อเนื่องกัน
ประเภทของ Conjunctions แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1. Coordinating conjunction เช่น and, but, or, for, nor, so, yet …. ใช้เชื่อมคำหรือกลุ่มคำชนิดเดียวกัน เช่น
Jack and Bill grew up in this town.
Henry is rich but unhappy.
You can read or do your homework.
She drank two glasses of water, for she was very thirsty.

2. Subordinating conjunction คือ คำที่ใช้เชื่อมกลุ่มคำหรือประโยคย่อยเข้ากับประโยคหลัก เพื่อให้ต่อเนื่องกันเป็นประโยคเดียวกัน เช่น after, until, before, when, unless, where, while, as if … เช่น
After finishing the work at the office, John drove his car home.
Before going to bed, Helen meditated for half an hour.
Although John is rich, she is not happy.

อนึ่ง ยังมีคำเชื่อมอีกประเภทหนึ่งที่ทำหน้าที่เชื่อมใจความของประโยคที่มีความ สมบูรณ์ในตัวเองตั้งแต่ สองประโยคขึ้นไปเข้าด้วยกัน และบอกให้ทราบว่าประโยคเหล่านั้นสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างไร เช่น เป็นเหตุเป็นผลกัน ขัดแย้งกัน คล้อยตามกัน เป็นต้น เช่น
Consequently, accordingly, in addition, besides, furthermore, moreover, however, hence, still, then, therefore, thus, nevertheless ……..

ตัวอย่าง

Henry studied very hard. Consequently, he passed all the tests. (เชื่อมเหตุผลต่อกัน)
Anong felt ill. However, she went to work. (เชื่อมความขัดแย้งกัน)

เราอาจเชื่อมประโยชน์ทั้งสองเข้าเป็นประโยคเดียวกันได้ โดยใช้เครื่องหมาย semicolon (;) เช่น
Henry studied very hard; consequently, he passed all of the tests.
Anong felt ill; however, she went to work.

อ้างอิง
http://www.nairong.com/webboard/index.php?topic=1036.0

กริยาวิเศษ (Adverb)

คือ คำที่ใช้ทำหน้าที่ขยายกริยา ขยายคุณศัพท์ หรือขยาย Adverb ด้วยกันเองก็ได้
กริยาวิเศษ แบ่งเป็น 7 ชนิด
1. แสดงเวลา (Adverbs of time ) คือคำขยายกริยาเพื่อบอกเวลา เช่น late
2. แสดงสถานที่ (Adverb of Place) คำขยายกริยา เพื่อบอกตำแหน่ง และสถานที่ เช่น on , above เป็นต้น
3. แสดงปริมาณ (Adverb of Number) คำขยาย กริยาเพื่อแสดงปริมาณ หรืออาจจะใช้ในการแสดงความถี่ เช่น sometime , always
4. แสดงอาการ (Adverb of Quality) ใช้ขยายกริยาเพื่อแสดงอาการที่ออกมาหรือ ลักษณะ เช่น terribly
5. แสดงความสัมพันธ์ (Relative Adverbs) คำกริยาเพื่อการเชื่อมประโยค เช่น when, why
6. แสดงคำถาม (Interrogative Adverbs) คำขยายกริยาเพื่อการถามคำถาม
7. แสดงการเชื่อมคำในประโยค (Sentence Adverbs) คือคำขยายกริยาเพื่อเชื่อมคำในประโยค

Adjectives

http://www.yindii.com/ref/grammar/adjective.htm

Adjectives
คำคุณศัพท์คือคำที่ทำหน้าที่ขยายคำนาม โดยแสดงคุณลักษณะ,คุณสมบัติ ,จำนวน , ขนาด , รูปร่าง ๆลๆ

Descriptive adjectives
คือคำคุณศัพท์ที่บอกลักษณะ คุณภาพ ขนาด สี รูปร่าง ของคำนามที่มันประกอบเช่น
Clean สะอาด Dirty สกปรก
Good ดี Bad เลว
1. การเรียงลำดับคำคุณศัพท์ที่มีอยู่ในประโยคเรียงได้ตามนี้
คำคุณศัพท์ที่บอกสี ที่มา(มาจากไหน) วัสดุ(ทำจากอะไร) จุดประสงค์(เพื่ออะไร) คำนาม
2. ถ้ามีคำคุณศัพท์ที่บอกขนาด ความสูง ความยาวจะวางไว้ข้างหน้าจากข้อหนึ่ง
3. ถ้ามีคำว่า first, last และ next จะวางไว้หน้าจำนวนนับ

Demonstrative adjectives
คือคุณศัพท์ชี้เฉพาะได้แก่ This, That, These, Those
This ใช้กับคำนามเอกพจน์ที่อยู่ใกล้ (นี้)
That ใช้กับคำนามเอกพจน์ที่อยู่ไกล (นั้น)
These ใชักับคำนามพหูพจน์ที่อยู่ใกล้(เหล่านี้)
Those ใชักับคำนามพหูพจน์(เหล่านั้น)
This is my pen.
That is my motorcycle.
These books are theirs.
Proper Adjectives
คือคำคุณศัพท์ที่เกี่ยวกับเชื้อชาติเป็นคำศัพท์ที่มีรูปมา
จากชื่อของประเทศเช่น
Thailand Thai คนไทย
Canada Canadian คนแคนาดา
U.S.A. American คนอเมริกัน
China Chinese คนจีน
Switzerland Swiss คนสวิส
Numeral Adjectives
คือคุณศัพท์ที่บอกจำนวนนับ ลำดับที่และจำนวนที่ไม่แน่นอน
จำนวนนับได้แก่ one,two, three, four,five,six,seven,eight, nine,ten......
ลำดับที่ได้แก่ first,second,third,fourth, fifth, sixth, seventh, eighth, nineth,tenth.....
บอกจำนวนที่ไม่แน่นอน
Definite Numeral Adjective คุณศัพท์บอกจำนวนที่แน่นอนของคำนาม
1. Cardinal Number จำนวนนับ เช่น one two three four five six… ๆลๆ


2. Ordinal Number ลำดับที่ first second third …. ๆลๆ
3. Multiplicative จำนวนเท่า single double triple… ๆลๆ

Indefinite Numeral Adjective
คำคุณศัพท์บอกจำนวนที่ไม่แน่นอนของคำนาม ใช้บอกคำนามที่นับได้จริง แต่ก็ไม่สามารถบอกเป็นตัวเลขได้แน่นอน
เช่น few any ๆลๆ
Possessive Adjectives
คือคำคุณศัพท์ที่แสดงความเป็นเจ้าของ
my ของฉัน
her ของเธอ
his ของเขา
its ของมัน
your ของคุณ
our ของพวกเรา
their ของพวกเขา
Quantitative Adjectives
คือคุณศัพท์ที่แสดงปริมาณบอกถึงความมากน้อยของสิ่งนับไม่ได้ได้แก่คำว่า
some บ้าง
much มาก
little น้อย
enough เพียงพอ
all ทั้งหมด
no ไม่มี
any บ้าง
whole ทั้งหมด
Interrogative Adjective
คือ Adjective ที่ใช้ขยายคำนามเพื่อเป็นประโยคคำถามแต่เวลาใช้ต้องมีคำนามตามหลังเสมอ

Distributive Adjective (คุณศัพท์ชี้เฉพาะ) คือ ใช้ในการแยกแยะคำนามหรือสรรพนาม เช่น each (แต่ละ) every (ทุกๆ) either (อย่างใดอย่างหนึ่ง) neither (ไม่ทั้งสอง) เป็นต้น

The name of a person was written on each box.
ซึ่งถูกเขียนไว้บนกล่องแต่ละกล่อง

อ้างอิงจาก
http://learners.in.th/blog/aandb/243906


Emphasizing Adjective
Emphasizing Adjective คือ คุณศัพท์เน้นความหมายถึงคุณศัพท์ที่ใช้ขยายนามเพื่อเน้นความให้มีนำหนักขึ้นได้แก่ own(เอง),very(ที่แปลว่า นั้น,นั้นเอง,นั้นจริงๆ) ตัวอย่างเช่น: Linda said that she had seen it with her own eyes. (ลินดาพูดว่าหล่อนได้เห็นมันมากับตาเธอเอง) He is the very man who stole my wrist watch last night. (เขาคือชายคนนั้นผู้ซึ่งได้ขโมยนาฬิกาข้อมือของฉันไปเมื่อคืนนี้)
อ้างอิงจาก
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/foreign03/08/Adjective.htm
การนำ Adjective ไปพูดหรือเขียน
Adjective เวลานำไปพูดหรือเขียนมีวิธีใช้อยู่ 4 อย่างคือ
1. เรียงไว้หน้าคำนามที่คุณศัพท์นั้นไปขยายโดยตรงได้ เช่น * The thin man can run very quickly. (คนผอมสามารถวิ่งได้เร็วมาก) * A wise boy is able to answer a difficult problem. (เด็กฉลาดสามารถตอบปัญหาที่ยากได้) * The beautiful girl is wanted by a young boy. (สาวสวยย่อมเป็นที่หมายตาของเด็กหนุ่ม) ข้อสังเกต : thin , wise , difficult , beautiful ,young เป็น คุณศัพท์เรียงขยายไว้หน้านามโดยตรง 2. เรียงไว้หลัง Verb to be, look feel,seem,get,taste,smell, turn,go,appear,keep,become,sound,grow,etc. ก็ได้ Adjective ที่เรียงตามกริยาเหล่านี้ ถือว่าขยายประธาน แต่วางตามหลังกริยา เพราะฉะนั้นจึงมีชื่อเรียกได้อีกอย่างหนึงว่า Subjective Complement เช่น * I'm feeling a bit hungry. (ฉันรู้สึกหิวนิดๆ) * Sugar tastes sweet. (น้ำตาลมีรสหวาน) ข้อสังเกต: hungry และ sweet เป็น Adjective เรียงไว้หลัง กริยา feeling และ tastes ทั้งนั้น 3. เรียงคำนามที่ไปทำหน้าที่เป็นกรรม (Object) ได้ ทั้งนี้เพื่อ ช่วยขยายเนื้อความของกรรมนั้นให้สมบรูณ์ขึ้น Adjiective ที่ใช้ใน ลักษณะเช่นนี้เรียกว่าเป็น Objiective Complement
เช่น * Sam made his wife happy. (แซมทำภรรยาของเขาให้มีความสุข) * I consider that man mad. (ฉันพิจารนาดูแล้วว่า ชายคนนั้นเป็นบ้า) *This matter made me foolish. (เรื่องนี้ทำให้ฉันโกรธไปได้) ข้อสังเกต: happy,mad และ foolish เป็น Adjective ให้เรียง หลังนาม และสรรพนามที่เป็น Object คือ wife,man,me 4. เรียง Adjective ไว้หลังคำนามได้ ไม่ว่านามนั้นจะทำหน้าที่เป็นอะไรก็ตาม ถ้า Adjective ตัวนั้นมี บุพบทวลี (Perpositional Phrase)มาขยายนามตามหลัง เช่น
* A parcel posted by mail today will reach him tomorrow. (พัสดุที่ส่งทางไปรษณีย์วันนี้จะถึงเขาวันพรุ่งนี้) ข้อสังเกต: posted เป็น Adjective เรียงตามหลังนาม parcal ได้เพราะมีบุพบทวลี by mail today มาขยายตามหลัง
* I have known the manager suitable for his position. (ฉันได้รู้จักผู้จัดการซึ่งก็มีความเหมาะสมสำหรับตำแหน่งของเขา) ข้อสังเกต: suitable เป็นคุณศัพท์ เรียงไว้หลังนาม manager ได้เพราะมีบุพบท วลี for his position มาขยายตามหลัง
* ข้อยกเว้น ในการใช้ Adjecive บางตัวเมื่อไปขยายนาม การ ใช้ Adjecive ไปขยายนามหรือประกอบนามตามแบบตั้งแต่ ข้อ 1 ถึง 4 นั้น หมายถึง Adjecive ทั่วไปเท่านั้น แต่ถ้าเป็นAdjective ที่จะกล่าวต่อไปนี้แล้วให้มีวิธีใช้ขยายนามหรือประกอบนาม ได้เพียงข้อใดข้อหนึ่งเท่านั้น คือ ประกอบหน้านาม หรือเรียงหลังกริยา จะใช้ทั้ง 2 อย่างไม่ได้


Exclamatory Adjective คือ คุณศัพท์บอกอุทาน หมายถึง คุณศัพท์ที่ใช้ขยายเพื่อให้เป็นคําอุทาน ได้แก่ what ตัวอย่างเช่น: What a man he is! (เขาเป็นผู้ชายอะไรนะเนี่ย!) What an idea it is! (มันเป็นความคิดอะไรกันหนอ!) What a piece of work he does! (เขาทํางานได้เยี่ยมจริงๆ!)
ข้อสังเกต : what ทั้ง 3 คํา ในประโยคเหล่านี้เป็นคุณศัพท์บอกอุทาน
อ้างอิงจาก
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/foreign03/08/Adjective.htm

คำกริยา ( verbs )

คำกริยา ( verbs )
คือคำที่ใช้แสดงการกระทำและการเคลื่อนไหวของประธานในประโยค
คำกริยาแบ่งเป็น 2 ชนิด
คำกริยาแท้ (Main Verbs)
คือคำกริยาที่ทำหน้าที่เป็นคำกริยาหลักของประโยค
คำกริยาช่วย ( Auxiliary Verbs)
คือคำกริยาที่ทำหน้าที่ช่วยคำกริยาแท้

กริยาแท้มี 2 ชนิด

1.สกรรมกริยา(Transitive Verbs) คือกริยาที่จำเป็นต้องมีกรรมมารองรับ เพื่อให้ประโยคมีใจความที่สมบูรณ์
2.อกรรมกริยา (Intransitive Verbs) คือกริยาที่ไม่จำเป็นต้องมีกรรมมารองรับ เพราะประโยคสามารถมีใจความสมบูรณ์ได้
กริยาช่วยมี 2 ชนิด
1.กริยาที่เป็นได้ทั้งกริยาช่วยและกริยาแท้ ได้แก่ Verb to be (is, am, are, was, were), Verb to do (do, does , did) Verb to have (have, has , has )
2.กริยาที่เป็นกริยาช่วยเท่านั้น ได้ แก่ will – would , shall – should , can – could , may – might , must , used to , need , dare

Pronoun

คำสรรพนาม (pronoun)
คือคำที่ใช้แทนคำนามหรือคำเสมอนาม เพื่อหลีกเลี่ยงการกล่าวถึงซ้ำซาก หรือแทนสิ่งที่รู้กันอยู่แล้วระหว่างผู้พูด ผู้ฟัง หรือแทนสิ่งของที่ยังไม่รู้ หรือไม่แน่ใจว่าเป็นอะไร คำสรรพนาม (pronouns ) แยกออกเป็น 7 ชนิด คือ
• Personal Pronoun ( บุรุษสรรพนาม ) คำนามที่ใช้แทนชื่อคนสัตว์และสิ่งของ เช่น I, you, we, he , she ,it, they
• Possessive Pronoun ( สรรพนามเจ้าของ ) คำนามที่แสดงความเป็นเจ้าของ เช่น mine, yours, his, hers, its,theirs, ours
• Reflexive Pronouns ( สรรพนามตนเอง )สรรพนามที่สะท้อนกรรมของประโยค เป็นคำที่มี - self ลงท้าย เช่น myself, yourself,ourselves
• Definite Pronoun ( หรือ Demonstrative Pronouns สรรพนามเจาะจง ) สรรพนามที่บ่งชี้ชัดว่าแทนอะไร เช่น this, that, these, those, one, such, the same
• Indefinite Pronoun ( สรรพนามไม่เจาะจง ) นามที่ไม่อาจระบุหรือบอกจำนวนที่แน่นอนได้ เช่น all, some, any, somebody, something, someone
• Interrogative Pronoun ( สรรพนามคำถาม ) เป็นสรรพนามที่ใช้แทนสำหรับคำถาม เช่น Who, Which, What
• Relative pronoun ( สรรพนามเชื่อมความ ) คำที่ใช้แทนนามที่อ้างถึงมาก่อนแล้วเป็นคำอธิบายข้อมูลของนามนั้นและทำหน้าที่เชื่อมประโยค เช่น who, which, that

วิธีการอ่านออกเสียงคำว่าThe

วิธีการอ่านออกเสียงคำว่าThe
1. เมื่อ the อยู่หน้าคำนามที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ หรือสระที่ออกเสียงเป็นพยัญชนะให้อ่าน เดอะ เช่น The ciry , The town , The unit
2. เมื่อ theอยู่หน้าคำนามที่ขึ้นต้นด้วยสระหรือพยัญชนะที่ออกเสียงเป็นสระ ให้อ่าน ดิ
The Elephant, The hour

Definite Article

Definite Article


คือ The ใช้นำคำนามนับได้ และ คำนามนับไม่ได้ ทั้งรูปเอกพจน์และพหูพจน์ เพื่อให้คำนามนั้นมีความหมาเฉพาะเจาะจงว่าคำนามที่พูดถึงคือสิ่งไหน

หลักการใช้
1. ใช้ the เมื่อต้องการชี้เฉพาะเจาะจงสิ่ง นั้นๆ
2. เมื่อกล่าวถึงคำนามนับได้ที่เป็นเอกพจน์ครั้งแรก ให้ใช้ทั้ง a และ an แต่หากว่ากล่าวถึงครั้งที่ 2 ขึ้นไป ให้ใช้ the (เพราะผู้ฟังกับผู้พูดเข้าใจตรงกันแล้วว่าพูดถึงสิ่งใด)
3. เมื่อกล่าวถึงสิ่งที่เป็นที่รู้จักกันอยู่ เช่น Please close the door (รู้อยู่ว่าประตูบานไหน)
4. ใช้ The นำหน้าสิ่งที่มีอยู่อยู่เพียงสิ่งเดียวและเป็นที่รู้จักกันดี เช่น The Moon(พระจันทร์) The Sun (พระอาทิตย์)
5. ใช้ the นำหน้าชื่อทาง ภูมิศาสตร์ เช่น ทะเล แม่น้ำ อ่าว ๆลๆ
6. ใช้ Theเปรียบเทียบขั้นสูงสุด เช่น The Most beautiful girl เป็นต้น
7. ใช้ The นำหน้า Adjective เพื่อใช้แทนคำนาม โดยมากจะหมายถึงกลุ่มคนที่มีลักษณะตาม adjective เปล่านั้น
8. ใช้ The นำหน้าตัวเลขแสดงลำดับที่ เชน The first , The second ๆลๆ
9. ใช้ The นำหน้าชื่อสุกล เพื่อกล่าวถึงคนทั้งตระกูล
10. ใช้ The นำหน้าเครื่องดนตรี

Indefinite Article

Indefinite Article
ได้แก่ a และ an
มีเงื่อนไขการใช้ดังนี้
1.a ใช้นำหน้าคำนามที่นับได้เป็นเอกพจน์ซึ่งขึ้นต้นด้วยเสียงพยัญชนะสื่อความหมายว่าคำนามที่ตามมามีจำนวนเป็นหนึ่ง
- สำหรับคำนามที่ขึ้นต้นด้วยสระแต่ออกเสียงเป็นพยัญชนะก็ให้ใช้ a เช่นกัน เช่น a uniform เป็นต้น

-an ใช้เหมือน นำหน้าคำนามนับได้เป็นเอกพจน์ ที่ขึ้นต้นด้วยสระ(aeiou) และเมื่ออ่านออกเสียงแล้วออกเสียงเป็น แอน (เพราะจะอ่านง่ายกว่า)

-an สารมารถใช้นำหน้าพยัญชนะที่ออกเสียงเป็นสระได้ เช่น an hour
เป็นต้น

3. ใช้ a และ an นำหน้า adjective ที่ขยายคำนามนับได้ เอกพจน์มีหลักการดังนี้
-ใช้ a นำหน้า adjective ที่ขึ้นต้นด้วยสระ
-ใช้ an นำหน้า adjective ที่ขึ้นต้นด้วยสระ
--ใช้ a หรือ an นำหน้าคำนามที่ใช้แสดงการมีส่วนร่วม ในกลุ่มต่างๆเช่น ประเทศ อาชีพ ศาสนา ๆลๆ
-ใช้ a และ an นำหน้าคำนามนับได้ เอกพจน์ เมื่อหมายถึงตัวแทนของสิ่งของทั้งหมด
-ใช้นำหน้าคำบอกจำนวนเช่น A thousand baht เงิน 1000 บาท
-ใช้ a และ an นำหน้าคำนามที่เป็นสำนวนเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วย เช่น
I have a cold , I have a fever เป็นต้น

*ชื่อโรคเราจะไม่ใช้ a หรือ an

Articles(คำนำหน้านาม)

Articles(คำนำหน้านาม)
เป็นคำคุณศัพท์ชนิดหนึ่ง ที่มักจะอยู่คู่กับ นาม โดยปกติแล้วนามจะต้องมี Articles นำหน้าเสมอ

Articles มี 2 ประเภทคือ
1 Indefinite Article คำนามไม่ชี้เฉพาะเจาะจง
2 Definite Article คำนำหน้านามที่ชี้เฉพาะเจาะจง