วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ลิลิตตะเลงพ่าย




ลิลิตรตะเลงพ่าย
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงนิพนธ์ร่วมกับ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ (พระองค์เจ้ากปิษฐาขัตติยกุมาร)
ลักษณะการแต่ง
แต่งด้วยลิลิตสุภาพ ซึ่งประกอบด้วยร่ายสุภาพ โคลงสองสุภาพ โคลงสามสุภาพ และโคลงสี่สุภาพ แต่งสลับกันไป จำนวน ๔๓๙ บท โดยได้แบบอย่างการแต่งมาจากลิลิตยวนพ่าย ที่แต่งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น ลิลิตเปรียบได้กับงานเขียนมหากาพย์ จัดเป็นวรรณคดีประเภทเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์

จุดมุ่งหมายการแต่ง
เพื่อสดุดีวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในสงครามยุทธหัตถี

เรื่องย่อ
เริ่มต้นชมบุญบารมีและพระบรมเดชานุภาพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แล้วดำเนินความตามประวัติศาสตร์ว่า พระเจ้าหงสาวดีนันทบุรงทรงทราบว่า สมเด็จพระมหาธรรมราชา เสด็จสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรได้ครองราชย์สมบัติ พระองค์จึงตรัสปรึกษาขุนนางทั้งปวงว่ากรุงศรีอยุธยาผลัดเปลี่ยนกษัตริย์ สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จเอกาทศรถพระพี่น้องทั้งสองอาจรบพุ่งชิงความเป็นใหญ่กัน ยังไม่รู้เหตุผลประการใด ควรส่งทัพไปเหยียบดินแดนไทย เป็นการเตือนสงครามไว้ ก่อนถ้าเหตุการณ์เมืองไทยไม่ปกติสุขก็ให้โจมตีทันที ขุนนางทั้งหลายก็เห็นชอบตามพระราชดารีนั้นพระจ้าหงสาวดีจึงตรัสให้ พระมหาอุปราชเตรียมทัพร่วมกับพระมหาราชเจ้านครเชียงใหม่ แต่พระมหาอุปราชกราบทูลพระบิดาว่าโหรทายว่าชันษาของพระองค์ร้ายนัก
สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีตรัสว่าพระมหาธรรมราชาไม่เสียแรงมีโอรสล้วนแต่ เชี่ยวชาญกล้าหาญ ในศึกมิเคยย่อท้อการสงคราม ไม่เคยพักให้พระราชบิดาใช้เลยต้องห้ามเสียอีก และ หวาดกลัวพระราชอาญาของพระบิดายิ่งนัก จึงเตรียมจัดทัพหลวงและทัพหัวเมืองต่างๆ เพื่อยกมาตีไทย ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรเตรียมทัพจะไป ตีกัมพูชา เป็นการแก้แค้นที่ถือโอกาสรุกรานไทยหลายครั้งระหว่างที่ไทยติดศึกกับพม่า พอสมเด็จพระนเรศวรทรงทราบข่าวศึกก็ทรงถอนกำลังไปสู้รบกับพม่าทันที ทัพหน้ายกล่วงหน้าไปตั้งที่ตำบลหนองสาหร่าย


ฝ่ายพระมาหาอุปราชาทรงคุมทัพมากับพระเจ้าเชียงใหม่รี้พลบ 5 แสน เข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ ทรงชมไม้ ชมนก ชมเขา และคร่าครวญถึงพระสนมกำนัลมาตลอดจนผ่านไทรโยคลำกระเพิน และเข้ายึดเมืองกาญจนบุรีได้โดยสะดวก ต่อจากนั้นก็เคลื่อนพลผ่านพนมทวนเกิดลางร้ายลมเวรัมภาพัดฉัตรหัก ทรงตั้งค่ายหลวงที่ตำบลตระพังตรุ ฝ่ายสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถทรงเคลื่อนพยุหยาตราทางชลมารค ไปขึ้นบกที่ปากโมก บังเกิดศุภนิมิต ต่อจากนั้นทรงกรีฑาทัพทางบกไปตั้งค่ายที่ตำบลหนองสาหร่ายเมื่อทรงทราบว่า พม่า ส่งทหารมาลาดตะเวน ทรงแน่พระทัยว่าพม่าจะต้องโจมตีประเทศไทยจึงรับสั่งให้ทัพหน้าเข้าปะทะข้า ศึกแล้ว ล่าถอยเพื่อลวงข้าศึกให้ประมาทแล้วสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับสมเด็จพระเอกาทศ รถ ทรงนำทัพหลวงออกมาช่วย ช้างพระที่นั่งลองเชือกตกมันกลับเขาไปในหมู่ข้าศึกแม่ทัพนายกองตามไม่ทัน สมเด็จพระนเรศวรมหาราชตรัสท้าพระมหาอุปราชากรำยุทธหัตถีจนมีชัยชนะ พระมหาอุปราชาขาดคอช้าง สมเด็จพระเอกาทศรถกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะแก่มังจาชโร
เมื่อกองทัพพม่าแตกพ่ายไปแล้วสมเด็จพระนเรศวรมาหาราชรับสั่งให้สร้างสถูปเจดีย์เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระมหาอุปราชา เสด็จแล้วจึงเลิกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา เป็นอับดับจบเนื้อเรื่อง


ลิลิต หมายถึง หนังสือที่แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภท โคลง และร่าย สลับกันเป็นช่วงๆ ตามธรรมเนียมแล้ว มักจะใช้โคลงและร่ายในแบบเดียวกัน กล่าวคือ โคลงดั้น สลับกับร่ายดั้น, โคลงสุภาพ สลับกับร่ายสุภาพ อย่างนี้เป็นต้น โคลงและร่ายที่สลับกันนั้น มักจะร้อยสัมผัสด้วยกัน เรียกว่า "เข้าลิลิต"
วรรณคดีที่แต่งตามแบบแผนลิลิต มักจะใช้ร่ายและโคลงสลับกันเป็นช่วงๆ ตามจังหวะ ลีลา และท่วงทำนอง และความเหมาะสมของเนื้อหาในช่วงนั้นๆ

ตัวละคร
1.ชื่อบุคคล
สมเด็จพระวันรัต เจ้าคณะใหญ่ในพระสงฆ์อรัญวาสิ
เจ้ารามราฆพ ตำแหน่งกลางช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวร
นายมหานุภาพ ควาญช้างของสมเด็จพระนเรศวร
หมื่นภักดีศวร ตำแหน่งกลางช้างทรงของสมเด็จพระเอกาทศรถ
ขุนศรีคชคง ตำแหน่งท้ายช้างทรงของสมเด็จพระเอกาทศรถ
นางจาปะโร พระพี่เลี้ยงของมหาอุปราช
สมิงซายม่วน นายทวารของหงสาวดี
สมิงอะกร้าน นายทหารสอดแนมของหงสาวดี

2.ชื่อช้างและสิ่งของ
เจ้าพระยาไชยานุภาพ ช้างพระที่นั่งของพระนเรศวรมหาราชเดิมช่อพลายภูเขาทอง เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงทำยุทธหัตถีชนะก็ทรงประทานชื่อว่า “เจ้าพระยาปราบหงสาวดี“
พระยาปราบไตรจักร ช้างพระที่นั่งของพระเอกาทศรถ
พลายพันธกอ ช้างพระที่นั่งของมหาอุปราช
พลายพัชเนียง ช้างของทางจาชโร
แสงพลพ่าย ชื่อพระแสงง้าวของสมเด็จพระนเรศวร

3. ชื่อสถานที่
แม่กษัตริย์ ชื่อแม่น้ำในเขตจังหวัดกาญจนบุรี
พนมทวน ชื่อตำบลในจังหวัดกาญจนบุรี
โคกเผาข้าว ชื่อตำบลในสุพรรณบุรี
หนองสาหร่าย ชื่อตำบลใน จ.สุพรรณบุรี
ตระพังตรุ ชื่อตำบลในจังหวัดอ่างทอง
วิเศษชัยชาญ ชื่ออำเภอในจังหวัดอ่าวทอง
พุทโธธานีมาศ เมืองในเขมร เรียกอีกอย่างว่าปันทายมาศ
ป่าสัก ชื่อเมืองป่าสักอยู่ในเวียดนาม



การตั้งทัพตามตำราภูมิต่างๆ
ครุฑนาม มีจอมปลวกต้นไม้ใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง
พยัคฆนาม ตั้งอยู่แนวป่าริมทาง
สีหนาม มีต้นไม้สามต้นเรียงกัน มีภูเขาใหญ่มีจอมปลวกมหึมา
สุนัขยาม ตั้งทัพใกล้ของโบราณ หรือริมทางใกล้หมู่บ้าน
นาคนาม ตั้งรายทางไปใกล้คลอง ห้วย หรือที่มีแม่น้ำไหล
มุสีหนาม มีดิน โพรง ปลวก มีรู
อัชนาม ตั้งทัพกลางทุ่ง
คชนาม สถานที่มีหญ้าแกมไม้ไผ่

ข้อได้เปรียบของการตั้งทัพแบบต่างๆ
1. หากข้าศึกตั้งภูมิสีหนาม กองทัพก็ต้องตั้งสีหนามเชนเดียวกัน แต่ให้รบก่อนโดยล่อข้าศึกออกมา ให้สูดลมหายใจดู ถ้าจมูกด้านซ้ายคล่อง จะได้ชัยชนะ
2. หากข้าศึกตั้งคชนาม และ พยัคนาม ให้ตั้งสีหนามข่ม
3. หากข้าศึกตั้งอันาม ถือว่าเป็นภูมิที่ให้โทษในตัวอยู่แล้ว
4. หากข้าศึกตั้งสุนัขยาม ให้ตั้งพยัคฆนามข่ม


ภาพจาก
http://www.rungsimun.com